เมนู

3. นิรุตติปฏิสัมภิทา
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ
สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต
ด้วยอุเบกขาสัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต
ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ
เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานใน
วิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น
ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้
ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณ
ปฏิสัมภิทา
.

แจกปฏิสัมภิทา 4 ด้วยรูปาวจรกุศลจิต


ปฏิสัมภิทา 4

คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา
2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า
ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถ-
ปฏิสัมภิทา
บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้นย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉาน
ในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่ง
ญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้นส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตก
ฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา 4 ด้วยอรูปาวจรกุศลจิต


ปฏิสัมภิทา 4

คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา
2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง
อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญ-
ญานาสัญญายตนสัญญา และเพราะละสุขเสียได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะฯลฯ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ความรู้แตกฉานใน
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่า
นั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด